เมื่อพูดถึงปัญหายาเสพติด คนส่วนใหญ่ก็มักจะมุ่งความสนใจไปที่กลุ่มผู้ผลิต
ผู้ค้าและผู้เสพยาเสพติด โดยเฉพาะผู้เสพยาเสพติดที่เป็นเยาวชน ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรง
จึงทำให้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ครู ผู้ปกครอง องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน
ตลอดจน สื่อมวลชนต่างก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
ยาเสพติด โดยเฉพาะการพยายามสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชน
ให้มีชีวิตที่ดีงามห่างไกลจากยาเสพติด ซึ่งต้องระมัดระวังทั้งในเรื่องของการสรรหาวิธีการและเลือกเฟ้นเนื้อหา
ข้อความที่เข้าถึงเยาวชนได้ตรงจุด ทั้งนี้เพราะเด็กและเยาวชนนั้นจะมีลักษณะพิเศษ
เช่น ไม่ชอบให้ใครว่ากล่าวตักเตือนตรง ๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ แต่จะรับข่าวสารข้อมูลได้มากขึ้นถ้าเยาวชนด้วยกันเป็นผู้ให้ข่าวสารข้อมูล
นั้น หรือตนเองเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(สำนักงาน ป.ป.ส.) จึงได้จัดรายการโทรทัศน์เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนไทยขึ้น คือ รายการ “ฮัลโหล ไทยทีน” (HelloThai Teen) ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์เพื่อการป้องกันยาเสพติดของเยาวชน โดยเยาวชน และเพื่อเยาวชน |
รายการ “ฮัลโหล ไทยทีน” เผยแพร่ออกอากาศทั่วประเทศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
11 กรมประชาสัมพันธ์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.02 -
18.30 น. เป็นประจํ า มีสมาชิกร่วมแลกเปลี่ยนส่งข่าวสารผ่านรายการทางจดหมาย
E-mail โทรศัพท์ และ วิทยุติดตามตัวเป็นจำนวนประมาณ
4,000 ราย โดยมีพิธีกรเป็นเยาวชน และเสนอกิจกรรมทางเลือกของเยาวชนที่หลากหลายทั้งในด้านกีฬา
ดนตรี งานอดิเรก และการนำเสนอความคิดเห็นของเด็ก เยาวชน ในเรื่องป็ญหายาเสพติด
หากจะมีแขกของรายการที่เป็นผู้ใหญ่เข้าไปร่วมรายการด้วย ก็จะต้องปรับภาษาพูดและเนื้อหาที่นำเสนอให้เป็นเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผล
และพูดถึงเรื่องประสบการณ์จริงที่เยาวชนเคยพบเห็น
หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน
|
ใน การพบปะกับเยาวชนของเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(นาย
สรสิทธิ์ แสงประเสริฐ) กับน้อง ๆ เยาวชนในรายการโทรทัศน์ “ฮัลโหล
ไทยทีน” แต่ละครั้งได้นำเสนอแนวคิดที่เป็นเหตุเป็นผล และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวอยู่ในวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน
ซึ่งผู้เขียนมองเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเผยแพร่ในการพูดคุยเรื่องยา เสพติดกับเยาวชน
ต่อไป จึงได้รวบรวมและเรียบเรียงประเด็นหลัก ๆ ไว้ดังนี้
|
อิทธิพลของเพื่อน
|
เพื่อนเป็นคนสำคัญของเราก็จริงอยู่ แต่ถ้าเพื่อนมีอิทธิพลต่อเราในทางที่ไม่ดี
พาไปเสียผู้เสียคน ในฐานะที่เราเป็นเพื่อนก็ต้องให้สติด้วยการตักเตือน และปฏิเสธไม่ทำตามและชักจูงให้เขาได้ใช้ชีวิตที่ถูกต้องและดีงาม
แต่ถ้าหากเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เหลือบ่ากว่าแรงก็คงต้องโบกมือลาเลิกคบเสียดีกว่า
ถือคติที่ว่า “มีเพื่อนดีเพียงหนึ่ง ถึงจะต้อง
ดีกว่าเพื่อนร้อยเพื่อนเลว”
|
ถ้าเป็นเรื่องยาเสพติด
ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง
|
เรื่องบางเรื่องจำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเองแล้วจึงเชื่อ แต่เรื่องยาเสพติดไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง
เพราะกาลเวลาผ่านมากี่ยุคกี่สมัย ยาเสพติดก็ยังเป็นสิ่งที่มีโทษพิษภัยต่อร่างกาย
และมีผลกระทบทำลายครอบครัว ชุมชน และความมั่นคงของประเทศชาติ
หากลูกหลายจะลงทุนพิสูจน์ยาเสพติดด้วยการทดลองใช้ด้วยตนเองก็เป็นการลงทุนที่สูงมาก
ไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะยาเสพติดมีฤทธิ์ทางเภสัช ทำให้เสพติดได้ และเลิกได้ยาก บางทีอาจสูญเสียเวลาและอนาคตกับเรื่องนี้ไปตลอดชีวิต
เพราะฉะนั้นอย่าได้คิดทดลองเลยจะดีกว่า
|
เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันผู้ค้ายาเสพติด
|
เยาวชน ส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียน มีเงินอยู่ในกระเป๋าเสมอสําหรับค่าขนม และค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่จำเป็น
ซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองให้มา จึงทำให้ผู้ลักลอบค้ายาเสพติดมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดให้กับเยาวชน
นั้นจะทำให้มีลูกค้าอยู้สม่ำเสมอ และใช้กลยุทธในการขายแบบขายตรง(Direct
sale) ในกลุ่มเพื่อนสนิท และด้วยความเป็นเพื่อนสนิทจึงไม่กล้าเปิดเผยความผิดของเพื่อน
และไม่กล้าปฏิเสธเพื่อน จึงทำให้การแพร่ระบาดยาเสพติดเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
จึงจำเป็นที่เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันกลลวงของผู้ค้ายาเสพติดที่จ้องจะดูดเงิน ค่าขนมในกระเป๋าของเยาวชนตลอดมา
|
ติดกีฬาก็มีความสุขได้
|
การ เล่นกีฬาไม่ใช่เป็นแต่เพียงกิจกรรมทางเลือกที่เบี่ยงเบนความสนใจของเยาวชน
ให้ห่างไกลยาเสพติดเท่านั้น แต่ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชื่อว่า การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬานั้นจะทำให้ต่อมไร้ท่อใต้สมองหลั่งสารเคมี
ชนิดหนึ่งชื่อ “เอนโดฟีน” ออกมา ซึ่งสารชนิดนี้ จะทำให้รู้สึกสดชื่น และ เป็นสุข ผู้ที่ออกกำาลังกายอยู่เสมอจึงมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์สมกับที่กล่าวว่า
“กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ” ดังนั้น จึงควรที่จะช่วยกันส่งเสริมให้เยาวชนได้ออกกำลังกายและเล่นกีฬา เพื่อให้มีสาร “เอนโดฟีน” อยู่ในร่างกายเกิดความสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด |
วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558
เยาวชนกับยาเสพติด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น